บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2021

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก

  ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์กราฟิก                 คอมพิวเตอร์กราฟิก คือ การใช้คอมพิวเตอร์สร้างภาพและจัดการเกี่ยวกับรูปภาพ เพื่อใช้สื่อความหมายของข้อมูลต่าง ๆ ให้น่าสนใจยิ่งขึ้น เช่น การใช้กราฟนำเสนอข้อมูลยอดขายสินค้าในแต่ละปี การใช้ภาพกราฟิกประกอบการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เป็นต้น  ภาพกราฟิกแบบ 2 มิติ มี 2 แบบ คือแบบ Raster และแบบ Vector ซึ่งหลักการทำงานจะมีความแตกต่างกัน โดยกราฟิกแบบ Raster จะเกิดภาพจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลาย ๆ จุด มารวมกัน ส่วนแบบ Vector เกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ หรือการคำนวณ ซึ่งภาพกราฟิกแต่ละนามสกุลจะมีแฟ้มรูปภาพและลักษณะที่แตกต่างกัน บทนำ                 ปัจจุบันภาพกราฟิกมีบทบาทกับงานด้านต่าง ๆ เป็นอย่างมาก เช่น งานนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของ เส้นกราฟ กราฟแท่ง แผนภูมิ การใช้ภาพกราฟิกประกอบการโฆษณาสินค้าต่าง ๆ การสร้างเว็บเพจ การสร้างสื่อการสอน (CAI) การสร้างการ์ตูน  การสร้างโลโก และงานออกแบบต่าง ๆ เป็นต้น โดยภาพกราฟิกจะทำให้งานมีความสวยงามและน่าสนใจยิ่งขึ้น ความหมายของกราฟิก                  กราฟิก (Graphic)   มักเขียนผิดเป็น กราฟิกส์ กราฟฟิกส์

ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

  ความหมายและความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ   เทคโนโลยี              เทคโนโลยีสารสนเทศ มาจากคำภาษาอังกฤษว่า  Information Technology   และมีผู้นิยมเรียกทับศัพท์ย่อว่า   IT                สุชาดา กีระนันท์ ( 2541)  ให้ความหมายว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง เทคโนโลยีทุกด้านที่เข้าร่วมกัน ในกระบวนการจัดเก็บสร้าง และสื่อสารสนเทศ                ครรชิต มาลัยวงศ์ ( 2539)  กล่าวว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สำคัญสองสาขาคือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม                โดยทั่วไปแล้วเทคโนโลยีสารสนเทศจะครอบคลุมถึงเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบันทึก จัดเก็บ ประมวลผลสืบค้น ส่งและรับข้อมูลในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์จัดเก็บ บันทึกและค้นคืน เครือข่ายสื่อสาร ข้อมูล อุปกรณ์สื่อสารและโทรคมนาคม รวมทั้งระบบที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้ ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ              ปัจจุบันคำว่า  “ เทคโนโลยีสารสนเทศ ”  หรือ เรียกสั้นๆว่า  “ ไอที ”(IT)  นั้นมักนำมาใช้งานอย่างกว้างขวางเกือบทุกวงการล้วนเห็นความสำคั