ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงานอาชีพ

 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงานอาชีพ

โครงงานเป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เลือกศึกษาค้นหาความรู้ ฝึกทักษะ เกิดประสบการณ์ โดยเลือกทำตามความถนัดและความสนใจ หากโครงงานอยู่ในรายวิชาหรือกลุ่มสาระใดก็จะเรียกว่าโครงงานวิชานั้น ๆ เช่น โครงงานคณิตศาสตร์ โครงงานภาษาไทย โครงงานอาชีพ เป็นต้น

1. ความหมาย

โครงงาน หมายถึง กิจกรรม หรืองานที่ส่งสนับสนุนให้ผู้เรียนได้เลือกศึกษาค้นคว้าริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานตามที่ตนเองมีความถนัด มีความพร้อม มีความชอบและสนใจ แล้วลงมือปฏิบัติตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ โดยมีรายละเอียดของงานที่จะจัดทาไว้ล่วงหน้าอย่างมีขั้นตอน พร้อมทั้งคาดการณ์ผลที่จะเกิดขึ้นได้ โดยรับคาแนะนาปรึกษาจากครูในโรงเรียนของตน

โครงงานอาชีพ หมายถึง การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับอาชีพที่ผู้เรียนเลือกตามความชอบ ความถนัด ความสนใจ และมีความพร้อมแล้วลงมือปฏิบัติจริง เริ่มตั้งแต่การวิเคราะห์ การวางแผน และการปฏิบัติงานให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กาหนดไว้ ด้วยวิธีการบูรณาการความรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนมา โดยมีรายละเอียดของงานที่จะจัดทาไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นขั้นตอน ทั้งนี้โดยได้รับคาแนะนาจากผู้รู้ หรือ ผู้ชานาญในงานอาชีพนั้นและครู ที่ทาหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของโครงงาน อาจจัดในเวลาเรียน หรือนอกเวลาเรียนก็ได้ รวมทั้งสามารถดาเนินกิจกรรมได้ทั้งในและนอกโรงเรียน ซึ่งอาจทาเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ แล้วจัดเขียนเป็นรายงานและแสดงผลงานที่ทาเผยแพร่สาหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาต่อ

สรุป โครงงาน คืองานวิจัยเล็กๆ สาหรับนักเรียน เป็นการแก้ปัญหาหรือข้อสงสัยหาคาตอบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และอาจใช้เครื่องมือ หรืออุปกรณ์ต่างๆช่วยในการศึกษาค้นคว้าหรือให้การศึกษาค้นคว้านั้นบรรลุวัตถุประสงค์ อาจทาในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้โดยไม่จากัดสถานที่ อาจทาเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มได้

2. ลักษณะของโครงงาน ลักษณะของโครงงานเป็นการให้ผู้เรียนเลือกหัวข้อหรือประเด็นที่จะศึกษาด้วยตนเอง แล้วลงมือปฏิบัติ โดยอาศัยการศึกษา ลงมือปฏิบัติและมีการแลกเปลี่ยนความรู้จากประสบการณ์จากการเรียนเพื่อค้นหาคาตอบ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ดังนี้

1. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ เป็นโครงงานที่ใช้เนื้อหาตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ เป็นพื้นฐานในการทาโครงงาน โดยมีการบูรณาการความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมเข้าด้วยกัน 2. โครงงานตามความสนใจ เป็นโครงงานที่ผู้เรียนจัดทาขึ้นตามความสนใจ ความถนัดและความต้องการ โดยนาเอาความรู้ ทักษะ คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม ในเนื้อหาการเรียนรู้ต่างๆ ที่ได้เรียนรู้มาบูรณาการ จัดทำเป็นโครงงาน ซึ่งจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสอดคล้องกับสภาวะการดำรงชีวิตจริงของตนเอง เป็นคนเก่ง คนดี และอยู่ร่วมกับสังคมอย่างมีความสุข ลักษณะสาคัญของโครงงาน มีดังนี้ 

1. เป็นเรื่องที่นักเรียนสนใจสงสัยต้องการหาคาตอบ
2. เป็นการเรียนรู้ที่มีกระบวนการ มีระบบ ครบกระบวนการ
3. เป็นการบูรณาการการเรียนรู้
4. นักเรียนใช้ความสามารถหลายด้าน
5. มีความสอดคล้องกับชีวิตจริง
6. มีการศึกษาอย่างลุ่มลึก ด้วยวิธีการและแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
7. เป็นการแสวงหาความรู้และสรุปความรู้ด้วยตนเอง
8. มีการนาเสนอโครงงานด้วยวิธีการที่เหมาะสมในด้านกระบวนการและผลงาน ที่ค้นพบ
9. ข้อค้นพบ สิ่งที่ค้นพบ สามารถนาไปใช้ในชีวิตประจาวันได้และปฏิบัติมาเป็นระบบขั้นตอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนเลือกเรียน และทาโครงงานได้ตามความสามารถ ความถนัดและตามความสนใจของตนเอง หรือกลุ่มได้อย่างอิสระ

3. ขอบข่ายของโครงงาน

     ขอบข่ายของโครงงาน ดำเนินงานโดยนักเรียน เป็นผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ และครูอาจารย์ เป็นผู้ให้คาแนะนาปรึกษา มีองค์ประกอบดังนี้
1. เป็นกิจกรรมการเรียนให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า และปฏิบัติด้วยตนเอง โดยอาศัยหลักวิชาการทางทฤษฎีตามเนื้อหาโครงงานนั้นๆ หรือจากประสบการณ์และกิจกรรมต่างๆ ที่ได้พบเห็นมาแล้ว
2. นักเรียนทุกคนพิจารณาจัดทาโครงงานด้วยตนเอง หรือเป็นกลุ่มโดยใช้ระยะเวลาสั้นๆ เป็นภาคเรียน หรือมากกว่าก็ได้ แล้วแต่โครงงานเล็กหรือใหญ่
3. นักเรียนเป็นผู้พิจารณาริเริ่มสร้างสรรค์ คัดเลือกโครงงานที่จะศึกษาค้นคว้า ปฏิบัติ ด้วยตนเองตามความถนัด สนใจ และความพร้อม
4. นักเรียนเป็นผู้เสนอโครงงาน รายละเอียดของโครงงาน แผนปฏิบัติงานและการแปลผล รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อดาเนินงานร่วมกันให้บรรลุตามจุดหมายที่กาหนดไว้
5. เป็นโครงงานที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถของนักเรียนตามวัยและสติปัญญา รวมทั้งการใช้จ่ายเงินดาเนินงานด้วย

4. วัตถุประสงค์และความสาคัญ

โครงงานอาชีพ ช่วยเสริมสร้างประสบการณ์ให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลทาให้ เกิดความริเริ่มสร้างสรรค์ในการทาโครงงานใหม่ๆ ที่จะนาไปสู่โลกของงานอาชีพและการศึกษา อีกทั้งโครงงานที่ตนเองสนใจยังก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่กว้างขวาง เป็นการประสานงานทางวิชาการระหว่าง กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ

โครงงานมีวัตถุประสงค์หลากหลายประการ เช่น ต้องการให้นักเรียนมีความรู้พื้นฐานที่จาเป็นเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในชีวิตประจาวัน สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามกระบวนการ ประหยัด ปลอดภัย และได้ประโยชน์ โดยรู้จักวิเคราะห์และวางแผนการทางาน สามารถปรับปรุงและพัฒนางาน

มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล รักการทางาน ซึ่งเป็นรากฐานของการดารงชีพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งมีคุณธรรมในการทางาน สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น นักเรียนจะต้องศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงเพิ่มเติม โดยอาศัยความรู้พื้นฐานจากรายวิชาอื่นๆ ในวิชาการงานและอาชีพ นักเรียนมีสิทธิเสรีภาพอย่างเต็มที่ในการตัดสินใจเลือกอย่างฉลาดที่จะดาเนินงานตามความถนัดและความสนใจของตน

ในส่วนที่เกี่ยวกับโรงเรียนและครูอาจารย์นั้นจะได้ประโยชน์อย่างยิ่งจากการเปิดโอกาส ให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจริงตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน ซึ่งจะก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นระหว่างนักเรียนและครูอาจารย์ประจาวิชาต่าง ๆ รวมทั้งการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้เป็นประโยชน์อย่างคุ้มค่า

ในส่วนที่เกี่ยวกับท้องถิ่นและชุมชน ย่อมจะได้ประโยชน์อย่างมากมายในแง่ของการให้นักเรียนได้มีโอกาสร่วมพัฒนาอาชีพต่าง ๆ ในท้องถิ่นซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ ทาให้นักเรียนเกิดความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนเองด้วย

ความสำคัญต่อนักเรียน

1. ทำให้เกิดความรู้ ทักษะ และเจตนคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพ
2. ช่วยสร้างแนวทางใหม่เพื่อริเริ่มงานไปสู่งานอาชีพ และการศึกษาต่อที่ตนเองสนใจและถนัด 
3. ช่วยสร้างเสริมประสบการณ์ปฏิบัติจริง ส่งผลให้เกิดความเข้าใจอย่างซาบซึ้งในการประกอบอาชีพ
4. ได้ทดสอบความถนัดและแก้ปัญหาในงานอาชีพที่สนใจและมีความพร้อมทาให้มั่นใจในการตัดสินใจเลือกอาชีพในอนาคต
5. ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความสาเร็จของโครงงานอาชีพที่ทำ 
6. ก่อให้เกิดความรัก ความเข้าใจ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพื่อนนักเรียนที่ปฏิบัติร่วมกัน
7. ก่อให้เกิดความรู้ทางวิชาการที่กว้างขวางขึ้น ได้รับความสาเร็จการศึกษาตามหลักสูตร

ความสำคัญต่อโรงเรียนและคณะครู
1. เกิดการประสานงานและบูรณาการทางวิชาการในโรงเรียน
2. เกิดความเข้าใจที่ตรงกันว่า การเรียนสามารถเกิดจากฝึกปฏิบัติจริง ในสถานที่ต่างๆมากกว่าที่จะเรียนแต่ในห้องเรียน
3. สามารถสร้างผลงานให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ของโรงเรียนได้
4. เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักเรียน โรงเรียนและคณะครู ได้มีโอกาสปฏิบัติงานร่วมกัน

ความสำคัญต่อท้องถิ่นและชุมชน
1. การเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ความรู้ ผลงานของโครงงานที่สาเร็จไปสู่ท้องถิ่น
2. ช่วยลดปัญหาวัยรุ่นในท้องถิ่น ที่เกี่ยวกับความประพฤติ จรรยามารยาท และศีลธรรม
3. ชุมชนได้มีส่วนร่วมในการขยายผลทางความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ให้แก่ผู้เรียน รุ่นต่อไป โดยสร้างนิสัยรักการทางาน ไม่เกียจคร้าน เกิดงานอาชีพที่หลากหลายและมีการพัฒนาอาชีพ ในชุมชนด้วย

5. คุณค่าและประโยชน์

คุณค่าของกิจกรรมโครงงานอาชีพและเทคโนโลยี การทาโครงงานการงานอาชีพและเทคโนโลยี มีคุณค่าที่ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ การดารงชีวิตและครอบครัว การอาชีพ การประกอบอาชีพ การออกแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะการทางาน การประกอบอาชีพ สร้างและพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือวิธีการใหม่ นอกจากนั้นจะเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนาเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในการ แก้ปัญหา ประดิษฐ์ คิดค้น ออกแบบ สร้าง ดัดแปลง นาไปใช้ประโยชน์ได้

ประโยชน์ของกิจกรรมโครงงานอาชีพและเทคโนโลยี 

ส่งเสริมการศึกษาค้นคว้า ส่งเสริมให้เกิดความรัก ความเข้าใจ ความสนใจ และเจตคติ ที่ดีต่อการงานอาชีพและเทคโนโลยี รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พัฒนาความสามารถของตนเองพัฒนาความรับผิดชอบและทางานร่วมกับผู้อื่นได้ นาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในการแก้ปัญหา พัฒนาความคิดสร้างสรรค์นำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน


ความคิดเห็น