โครงงานอาชีพ

 โครงงานอาชีพ หมายถึง งานที่ทำเป็นประจำ เพื่อให้มีรายได้ในการเลี้ยงชีพ แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. อาชีพอิสระ หมายถึง อาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพเป็นเจ้าของกิจการ มีการวางแผน มีการจัดการ

และดำเนินการด้วยตนเอง แบ่งเป็น 2 ลักษณะของการประกอบอาชีพ คือ อาชีพผู้ผลิต เป็นอาชีพที่ผู้ดำเนินกิจการ/ผู้ประกอบอาชีพ ผลิตชิ้นงานเพื่อจำหน่าย และอาชีพบริการ เป็นอาชีพที่ผู้ดำเนินการอำนวยความสะดวก หรือให้บริการแก่ผู้บริโภค เช่น ช่างตัดผม ช่างซ่อมวิทยุโทรทัศน์ ฯลฯ

  1. อาชีพรับจ้าง เป็นอาชีพที่ผู้ประกอบอาชีพไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ แต่ทำงานภายใต้ระบบ หรือ

ข้อกำหนดของหน่วยงาน หรือนายจ้างที่ตนสังกัด

หลักการประกอบอาชีพอิสระ

  1. เป็นการจัดการศึกษาเพื่อชีวิต ชุมชน และสังคม
  2. ส่งเสริมการพึ่งตนเอง และความมีอิสระแก่ตนเอง
  3. ส่งเสริมให้มีความสามารถในการจัดการ การนำความรู้ และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ใน

ชีวิตประจำวัน

  1. ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้จากสภาพปัญหา สิ่งแวดล้อม และการปฏิบัติจริง
  2. ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจในการเลือกอาชีพที่สอดคล้องความสภาพท้องถิ่น ความสนใจ ความ

ถนัด และความสามารถของตนเอง

การส่งเสริมให้นักเรียนได้สัมผัสกับอาชีพด้วยการทำโครงงานอาชีพ จะพัฒนานักเรียนให้เจริญ เติบโตเป็นพลเมืองดี มีคุณภาพ สามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข ในภาวะที่สังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ประโยชน์ต่อนักเรียน

  1. ได้ประสบการณ์การทำงาน
  2. รู้จักการทำงานเป็นกลุ่ม
  3. มองเห็นช่องทางประกอบอาชีพ
  4. ได้นำความรู้ที่ได้รับมาใช้ในการประกอบอาชีพ
  5. มีการวางแผนและปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
  6. ได้เรียนรู้คุณธรรม จริยธรรมจากการปฏิบัติจริง
  7. ได้รับการพัฒนาให้เกิดกระบวนการคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น

นักเรียนแต่ละกลุ่มจะประกอบอาชีพหลากหลายต่างกัน ตามความถนัด และความสนใจ นักเรียนจะได้รับผลการเรียนเหมือนรายวิชา     อื่น ๆ และใน 1 รายวิชา จะมีอาจารย์ที่ปรึกษาหลายคน ตามกลุ่มอาชีพที่นักเรียนสนใจปฏิบัติ สำหรับเรื่องที่ควรจะให้นักเรียนได้เรียนรู้ เช่น

  1. อาชีพต่าง ๆ ที่มีในปัจจุบัน
  2. คุณธรรม จริยธรรมของผู้ประกอบอาชีพ
  3. การเลือกอาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค และความถนัดของตนเอง
  4. กระบวนการดำเนินงานของอาชีพที่สนใจเลือก
  5. การจัดการกิจการธุรกิจอาชีพให้ประสบความสำเร็จ
  6. การทำงานกลุ่ม/การทำงานร่วมกัน/การบริหารบุคคล
  7. เทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพของการประกอบอาชีพ
  8. การจัดการผลผลิต
  9. เทคนิคการสื่อสาร(พูด ฯลฯ)กับผู้บริโภค(ลูกค้า)
  10. การคิดต้นทุน การกำหนดราคาจำหน่าย/ค่าบริการ
  11. ระบบบัญชีอย่างง่ายสำหรับกิจการขนาดเล็ก
  12. เทคนิคการโฆษณา ประชาสัมพันธ์อาชีพของตนสู่ผู้บริโภค
  13. การนำผลผลิตสู่ผู้บริโภค และการบริการหลังขาย

บทบาทหน้าที่ของครูที่ปรึกษา

  1. ให้คำปรึกษา แนะนำ ชี้แจง ในเรื่องต่าง ๆ เช่น

1.1 ให้ข้อมูล หรือชี้แนะสถานประกอบการ แหล่งวิทยาการที่นักเรียนจะไปศึกษาค้นคว้าหา

ความรู้ หรือดูงานเกี่ยวกับงานอาชีพในท้องถิ่น หรืองานอาชีพทั่ว ๆ ไป เพื่อเป็นแนวทางให้กับนักเรียนในการตัดสินใจเลือกอาชีพตามความสนใจ และความสามารถ

1.2 ให้คำแนะนำ และหรือร่วมกับนักเรียนวิเคราะห์ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของ

งานอาชีพที่นักเรียนเลือกตัดสินใจที่จะดำเนินการ และวางแผนการดำเนินงาน

1.3 ให้คำแนะนำวิธีการรวมกลุ่มของนักเรียน ในการเลือกรูปแบบการดำเนินกิจการให้

สอดคล้องกับขนาดของอาชีพ จำนวนเงินที่ใช้ลงทุน และการแบ่งกำไร ขาดทุน

1.4 ให้คำแนะนำการเขียนโครงการประกอบอาชีพ

1.5 ให้คำแนะนำการจัดการด้านการผลิตหรือการบริการ

1.6 ชี้แนะช่องทางการจัดจำหน่ายผลผลิตหรือการบริการ วิธีการจัดจำหน่าย การกำหนดราคา

เทคนิคการจำหน่าย ฯลฯ

1.7 ให้คำแนะนำการจัดทำบัญชีที่เหมาะสมกับขนาดของงานอาชีพ

1.8 ให้ความรู้ คำแนะนำ และหรือเชิญวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้มีประสบการณ์ในงานอาชีพมาให้

ความรู้ และหรือทักษะเพิ่มเติมความสามารถในการดำเนินโครงงานอาชีพของนักเรียน

 

  1. ตรวจสอบการทำโครงงานอาชีพของนักเรียน เช่น

2.1 ตรวจสอบการเขียนโครงการอาชีพของนักเรียนให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนด

2.2 ตรวจสอบวิธีการทำบัญชีของนักเรียน ซึ่งการบันทึกบัญชีต้องเป็นปัจจุบัน และจัดทำแฟ้ม

จัดเก็บเอกสารต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ

  1. นิเทศ ส่งเสริม สนับสนุน และให้ขวัญกำลังใจแก่นักเรียน เช่น

3.1 เข้าร่วมประชุมกลุ่มของนักเรียน เพื่อรับทราบความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค และ

เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหา และอุปสรรค

3.2 เสริมแรงการทำงานอาชีพของนักเรียน เช่น การประกาศเกียรติคุณ จัดแข่งขันทักษะ จัด

ตลาดนัด ฯลฯ

  1. ประเมินผลการทำโครงงานอาชีพของนักเรียน ได้แก่

4.1 ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินโครงการอาชีพของนักเรียน เพื่อค้นหาข้อดีที่ควรปฏิบัติและ

ค้นหาจุดอ่อนเพื่อหาทางป้องกัน ซึ่ง ควรประเมินก่อนดำเนินโครงการ

4.2 ส่งเสริมให้นักเรียนประเมินผลการปฏิบัติงานโครงการของนักเรียนเมื่อสิ้นสุดโครงการ เพื่อ

สรุปผลการปฏิบัติงาน ปัญหา อุปสรรค วิธีการแก้ไข และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์สำหรับทำโครงการอาชีพครั้งต่อไป

4.3 ให้นักเรียนจัดทำรายงานสรุปผลการปฏิบัติโครงการอาชีพ

 

ขั้นตอน

 

รายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติของนักเรียน

  1. การรวมกลุ่มเพื่อทำโครงการอาชีพ อาจจะประกอบด้วย
    • เป็นการรวมกลุ่มของเพื่อนนักเรียนที่มีความสนใจงานอาชีพลักษณะเดียวกัน ตามจำนวนที่

โรงเรียนกำหนด

  • เป็นการรวมความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่จะช่วยกันทำงาน
  • เป็นการรวมกลุ่มนักเรียนที่มีความตั้งใจในการหาประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่น
  1. การศึกษาข้อมูลรายละเอียดงานอาชีพที่สนใจ ดังนี้
    • ขั้นตอนและเทคนิคการผลิต/บริการงานอาชีพที่เลือก
    • จำนวนเงินที่ต้องใช้ในการลงทุนดำเนินกิจการทั้งหมด
    • ชนิด และขนาดของเครื่องมือ เครื่อง และอุปกรณ์ ที่ใช้ในการผลิต/บริการ
    • แหล่งวัตถุดิบ ปริมาณที่ต้องใช้ และความสะดวกในการขนส่ง
    • สถานที่ผลิต/บริการ
    • จำนวนของผู้ต้องการใช้สินค้า/บริการ
    • ปริมาณที่จะผลิตแต่ละครั้ง
    • วิธีการกำหนดราคาจำหน่าย/ให้บริการ
    • สถานที่จำหน่าย และวิธีการจำหน่าย
  2. ปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และผู้มีประสบการณ์ในอาชีพที่สนใจ เพื่อให้มีความกระจ่างจัดเจนใน

การดำเนินโครงการแต่ละขั้นตอน เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการทำโครงการอาชีพ

  1. เขียนโครงการอาชีพ โดยให้มีหัวข้ออย่างน้อย ดังนี้
    • ชื่อโครงการ
    • หลักการและเหตุผล(เชิงธุรกิจ)
    • วัตถุประสงค์(เชิงธุรกิจ)
    • เป้าหมาย(ประมาณที่จะผลิต/บริการ)
    • รูปแบบการรวมกลุ่ม(ถ้ามี)
    • วิธีการระดมทุน และแห่งเงินทุน
    • ระยะเวลาเริ่มดำเนินการ และเมื่อสิ้นสุดโครงการ
    • สถานที่ดำเนินการผลิต/บริการ(ที่ไหน มีเงื่อนไขอย่างไร)
    • กลุ่มผู้ซื้อ/ผู้รับบริการ(เป็นใคร สถานที่จำหน่าย วิธีการจำหน่าย ราคาจำหน่าย)

4.10  ประมาณการรายรับ รายจ่าย

4.11  ผลที่คาดว่าจะได้รับ(กำไรที่คาดว่าจะได้รับ)

4.12  ชื่อครูที่ปรึกษาโครงการ

การพิจารณาโครงการอาชีพของนักเรียน อย่างน้อยครูที่ปรึกษาควรพิจารณาในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

  • มีการรวมกลุ่มของนักเรียนเพื่อทำอาชีพ
  • เป็นอาชีพที่สุจริต และเป็นอาชีพอิสระหรืออาชีพบริการ
  • เหมาะสมกับเวลาเรียน กำลังของนักเรียน อายุ และความสามารถของนักเรียน
  • ไม่ทำให้เสียวผลการเรียน และไม่เป็นกิจกรรมใหญ่โตเกินไป หรือลงทุนมากจนก่อให้เกิด

ความกังวลใจของนักเรียน

  • มีตลาด หรือลูกค้ารองรับ
  • สามารถหาแหล่งวิชาการสนับสนุนได้
  • ถ้ามีการยืมเงิน จะยืมได้ไม่เกินกลุ่มละ………………บาท(โรงเรียนตกลงกำหนดให้ชัดเจน)
  • ถ้ามีการร่วมลงทุนจากหลายฝ่าย แต่ละฝ่าย(เช่น ครู ผู้ปกครอง ฯลฯ)ควรมีสัดส่วนที่เป็น

ของคนอื่นที่ไม่ใช่นักเรียน แต่ละฝ่ายไม่เกินร้อยละ 10-20(โรงเรียนตกลงกำหนดให้ชัดเจน)

  • ไม่เป็นกิจการของโรงเรียน หรือกิจการของผู้ใดผู้หนึ่งที่จัดให้นักเรียนทำแล้วแบ่งรายได้ให้

นักเรียน หรือให้นักเรียนเป็นลูกจ้าง

  • มีกิจกรรมที่แสดงให้เห็นว่า นักเรียนได้ทำงานร่วมกัน และแบ่งงานกันทำตามความรู้

ความสามารถของแต่ละคนอย่างเป็นระบบ

  • มีครูที่ปรึกษา คอยแนะนำ ดูแลการประชุมกลุ่ม ดูแลการทำงานร่วมกัน และระบบบัญชี
  • เป็นงานอาชีพที่น่าสนใจ ส่งเสริมความสามารถในการจัดการ ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน

ได้เรียนรู้จรกประสบการณ์ชีวิตจริง และส่งเสริมการคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาได้

  1. ดำเนินการตามโครงการ มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ ดังนี้
    • ขั้นเตรียมการ
    • ศึกษาดูการปฏิบัติงานอาชีพจากสถานประกอบการในท้องถิ่น หรือแหล่งวิทยาการ

(หรือจาก VCD)

  • ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
  • จัดเตรีมสถานที่ทำการผลิต
  • จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ วัตถุดิบ สำหรับการผลิตแต่ละครั้ง
  • กำหนดสถานที่ และวิธีการจำหน่ายผลผลิต
  • ขั้นดำเนินการ
  • ดำเนินการผลิต/บริการตามที่กำหนดไว้(เท่าที่ลูกค้าต้องการ)
  • กำหนดราคาจำหน่าย
  • ดำเนินการจัดจำหน่าย
  • จัดทำบัญชีรายรับ รายจ่าย
  • จดบันทึกการปฏิบัติงาน(ความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค) มีหัวข้อ ดังนี้

5.1) วัน เดือน ปีที่ปฏิบัติงาน

5.2) บันทึกการปฏิบัติงาน

5.3) ปัญหา/อุปสรรค

5.4) สิ่งที่ปฏิบัติ/แก้ไขแล้ว/ข้อเสนอแนะ

5.5) ผู้ตรวจบันทึก/ผู้นิเทศ

  • บันทึกการประชุมทุกครั้ง
    • ขั้นประเมินผล
  • รายงานการเงินของโครงการ และสรุปผลการดำเนินโครงการ อย่างน้อยมีหัวข้อ

ต่อไปนี้

  • แสดงสถานการณ์เงิน
  • งบกำไร ขาดทุน เมื่อสิ้นสุดโครงการ
  • งบดุลแสดงยอดจำนวนเงินสด ทรัพย์สินอื่น ๆ เจ้าหนี้ และทุน
  • ส่วนแบ่งกำไร/ขาดทุน ให้ผู้ร่วมลงทุน(ถ้ามี)
  • ปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไข
  • ข้อเสนอแนะสำหรับการดำเนินโครงการครั้งต่อไป หรือสำหรับผู้สนใจ

ทำโครงการอาชีพชนิดเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน

ในการดำเนินการส่งเสริมให้นักเรียนได้สัมผัสกับอาชีพต่าง ๆ ด้วยการประกอบอาชีพด้วยตนเอง อาจจะมีคณะทำงาน 1 คณะคอยดูแล อำนวยความสะดวกให้การดำเนินงานอาชีพของนักเรียนแต่ละกลุ่มประสบความสำเร็จ ซึ่งคณะกรรมการคณะนี้ อาจจะมีหน้าที่ ดังนี้

  1. ประชุมชี้แจงให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคน ทุกฝ่าย เข้าใจการส่งเสริมการฝึกการประกอบอาชีพให้กับนักเรียน
  2. เยี่ยมเยียนที่ปรึกษาโครงการอาชีพ และเยี่ยมเยียนนักเรียนขณะทำงานอาชีพ
  3. ให้คำปรึกษา แนะนำในการปฏิบัติงานส่งเสริมให้นักเรียนฝึกประกอบอาชีพ
  4. นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินงานส่งเสริมการฝึกประกอบอาชีพให้กับนักเรียน
  5. อำนวยความสะดวกด้านวัสดุ อุปกรณ์ งบประมาณ และอื่น ๆ ตามความจำเป็น
  6. จัดกิจกรรมแสดงผลงาน และจัดกิจกรรมการความสามารถด้านอาชีพของนักเรียน
  7. จัดนิทรรศการแสดงผลผลิตของนักเรียน
  8. 8. จัดทัศนศึกษาดูงานเกี่ยวกับอาชีพ
  9. จัดอภิปราย และเชิญวิทยากรผู้ประสบความสำเร็จในอาชีพ ให้ความรู้แก่ครู และนักเรียน เพื่อเพิ่มความเข้าใจการประกอบอาชีพแก่ครูและนักเรียน ให้มีความรู้เรื่องนี้ ที่ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
  10. เผยแพร่การดำเนินงานการฝึกการประกอบอาชีพของนักเรียนแก่บุคคลทั่วไป
  11. ประกาศเกียรติคุณ มอบเกียรติบัตร โล่ ให้แก่นักเรียนและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่มีผลงานดีเด่น

 

ตย1

 

ตย2

 

ตย3

 

 

งบกำไร ขาดทุน

ชื่อกิจการ…………………………………………………………………………

สำหรับงวด สิ้นสุด…………………………………

รายได้

รายได้จากการขาย                                                                               ………………….บาท

หัก สินค้าคงเหลือปลายงวด(ถ้ามี)                                  ………………….บาท

ค่าใช้จ่าย

ค่าใช้จ่าย                                                                                                ………………….บาท

ค่าใช้จ่าย                                                                                                ………………….บาท

รวมค่าใช้จ่าย                                                        ………………….บาท

กำไรจากการขาย                                                                  ………………บาท

การแบ่งกำไร ขาดทุน

ได้กำไรสุทธิ                                                                         ………………….บาท

กันไว้สำหรับขยายกิจการ                                                  ………………….บาท

กำไรที่ต้องแบ่งให้ผู้ร่วมลงทุน                                         ………………….บาท

งบดุล

ชื่อกิจการ………………………………………………..

งบดุลเมื่อวันที่…………………………………………

ทรัพย์สิน

เงินสด                                                                                   ………………….บาท

สินค้าคงเหลือปลายงวด(ถ้ามี)                                          ………………….บาท

อุปกรณ์                                                                                  ………………….บาท

หนี้สินและทุน

เจ้าหนี้                                                                                    ………………….บาท

ทุน         ก…………………………….                                              ………………….บาท

ข………………………………..                                           ………………….บาท

ค………………………………..                                           ………………….บาท

สำรองสำหรับขยายกิจการ                                                ………………….บาท

สรุปผลการปฏิบัติงานโครงการ

ชื่อโครงการ……………………………………………………………………

ทรัพย์สินเมื่อเริ่มกิจการ

เงินสด                                                                                                   ………………………..บาท

เงินฝากธนาคาร(ประเภท………………)                                        ………………………..บาท

อุปกรณ์ เครื่องใช้ เครื่องมือ(ตีราคา)                                                               ………………………..บาท

อื่น ๆ (ระบุ)………………………………..                                                      ………………………..บาท

รวม                        ………………………..บาท

หนี้สินและทุนเมื่อเริ่มกิจการ

เงินยืมจาก(โรงเรียน, …………..)                                                    ………………………..บาท

ทุนของกิจการ                                                                                      ………………………..บาท

รวม                        ………………………..บาท

 

 

ผลการดำเนินงาน

  1. ระยะเวลาดำเนินการ(เริ่มเมื่อ………/……………/………… สิ้นสุดเมื่อ………../…………./……………)

™ดำเนินการได้ตามเวลาที่กำหนดในโครงการ

™เสร็จก่อนกำหนดเวลา เพราะ……………………………………………………………………………………….

™เสร็จสิ้นหลังกำหนดเวลา เพราะ………………………………………………………………………………….

  1. เป้าหมายที่กำหนดในโครงการ

™จำนวนผลผลิต…………………………………..

™จำนวนบริการ……………………………………

  1. ผลการผลิตหรือบริการ

™เป็นไปตามเป้าหมาย ได้จำนวน………………………………………………

™เกินเป้าหมาย ได้จำนวน…………………………………………………………

™ต่ำกว่าเป้าหมาย ได้จำนวน……………………………………………………..

™ไม่ได้ทำ

  1. การผลิต/การบริการที่ทำได้เกินเป้าหมาย ได้แก่………………………………………………………

สาเหตุเพราะ………………………………………………………………………………………………………………………..

  1. ผลการผลิต/การบริการที่ต่ำกว่าเป้าหมายของโครงการ ได้แก่………………………………………..

สาเหตุ เพราะ……………………………………………………………………………………………………………………….

  1. รายได้จากการดำเนินการผลิต/บริการตามโครงการ

™ได้รับรายได้ตรงตามที่กำหนดไว้ จำนวน…………………………………..บาท

™ได้รับรายได้สูงกว่าที่กำหนดไว้ จำนวน…………………………………….บาท

™ได้รับรายได้ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ จำนวน…………………………………….บาท

  1. ได้ใช้จ่ายเงินเพื่อดำเนินการผลิต/การบริการตามโครงการ

™จ่ายต้นทุนการผลิต และค่าใช้จ่ายตรงตามที่กำหนดไว้……………………….บาท

™จ่ายต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายสูงกว่าที่กำหนดไว้………………………….บาท

™จ่ายต้นทุนการผลิตและค่าใช้จ่ายต่ำกว่าที่กำหนดไว้…………………………..บาท

  1. ได้รับผลกำไร/ขาดทุนจากการปฏิบัติตามโครงการ คือ

™ได้กำไรสุทธิ จำนวน………………………………..บาท

™ขาดทุนสุทธิ จำนวน…………………………………บาท

  1. ทรัพย์สินในวันสิ้นสุดโครงการ(ก่อนจ่ายกำไร/เงินปันผล)

เงินสด                                                                                                           ………………………….บาท

เงินฝากธนาคาร                                                                                           ………………………….บาท

อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ตีราคาเป็นเงิน                                          ………………………….บาท

อื่น ๆ…………………………………………                                                              …………………………..บาท

  1. ได้จัดสรรผลกำไร/ขาดทุน ให้แก่ผู้ร่วมทุน ดังนี้

™ผู้ลงหุ้น ได้รับหุ้นละ…………….บาท จำนวน…………หุ้น เป็นเงินจ่ายรวมทั้งสิ้น…………..บาท

™……………………………………………………….            รวมเป็นเงิน…………………………บาท

  1. ได้มีการจ่ายค่าตอบแทน(โบนัส)ให้แก่กรรมการดำเนินงานของกิจการ ดังนี้(ถ้ามี)

™จ่ายให้ผู้ดำเนินการทุกคน ๆ ละ……………………บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น……………………..บาท

™จ่ายให้ผู้จัดการ…………………บาท

™จ่ายให้คณะกรรมการ คนละ………….บาท รวมจ่ายทั้งสิ้น……………………บาท

 

 

ลงชื่อ………………………………………………ผู้สรุป

(……………………………………………..

ความคิดเห็น